SharePoint

Skip Navigation LinksHistory

 
​​​

​​     กระทรวงสาธารณสุขมีภาระกิจในการจัดหายาเสพติดให้โทษประเภท 2 และประเภท 4 และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทประเภท 2 เพื่อให้บริการแก่สถานพยาบาลต่างๆทั้งของรัฐ และเอกชน สถานพยาบาลทันตกรรม และสถานพยาบาลสัตว์ ทั่วราชอาณาจักร ซึ่งดำเนินงานโดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา โดยกองควบคุมวัตถุเสพติดเป็นผู้ควบคุมรับผิดชอบการดำเนินงานของเงินทุนหมุนเวียน มีหน้าที่ ภารกิจ เพื่อซื้อ ขาย ผลิตยาเสพติดให้โทษ ตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพติดให้โทษ และวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาทตามกฎหมายว่าด้วยวัตถุที่ออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท อาทิ อะซิติคแอนด์ไฮไดรด์ และอะซิติคคลอไรด์ เพื่อสำหรับใช้ในทางการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ทั่วไป

• พ.ศ. 2466 มีการจัดตั้งเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด วงเงินอนุมัติ จำนวน 50,000 บาท และถูกระงับไปโดยผลของพระราชบัญญัติเงินคงคลัง พ.ศ. 2491 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2495

• พ.ศ. 2517 มีระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ( ฉบับที่ 1) กำหนดให้ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา มีอำนาจวางระเบียบปฏิบัติภายในเกี่ยวกับการดำเนินงานของเงินทุนฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย รัดกุม และเหมาะสม


• พ.ศ. 2520 ออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ( ฉบับที่ 2) แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด พ.ศ. 2517

• พ.ศ. 2521 ออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ( ฉบับที่ 3) แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด พ.ศ. 2517 

• พ.ศ. 2553 ออกระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วยเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ( ฉบับที่ 4) แก้ไขเพิ่มเติมระเบียบเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด พ.ศ. 2517 

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ได้ออกคำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 213/2553 เรื่องจัดตั้งกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดให้เป็นหน่วยงานภายในและมีฐานะเทียบเท่ากลุ่มงานภายใต้การกำกับดูแลของเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา


 

...วัตถุประสงค์การจัดตั้ง...
     1. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ 
     2. เพื่อเพิ่มรายได้จากการจำหน่าย 
     3. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการลดต้นทุน อันจะส่งผลให้ประชาชนได้ใช้ยาในราคาที่ถูกลงกว่าเดิม 
     4. เพื่อทำให้ประเทศไทยพึ่งพาตนเองได้เกี่ยวกับวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์ โดยทำการส่งเสริมให้มีการผลิตยาสามัญขึ้นมาใช้เองภายในประเทศ ในกรณีของยาที่หมดสิทธิบัตรแล้ว 
     5. เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านวัตถุเสพติดที่ใช้ในทางการแพทย์ให้กับประเทศ โดยกำหนดสต๊อคพิเศษ (Special stock) ตามเกณฑ์ที่องค์การสหประชาชาติอนุญาต ในกรณีที่เกิดภาวะฉุกเฉินหรือสงคราม ประเทศจะไม่เกิดภาวะขาดแคลนยาเหล่านี้ 

 
...พันธกิจ (Mission)...
     
1. จัดหาและจำหน่ายวัตถุเสพติดทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม
อย่างเพียงพอต่อความต้องการของประเทศ
2. สนับสนุนการควบคุม กำกับ ติดตามการใช้วัตถุเสพติดทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์
และอุตสาหกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ 

 
...วิสัยทัศน์...
     องค์กรสมรรถนะสูงด้านการบริหารวัตถุเสพติดทางการแพทย์ วิทยาศาสตร์ และอุตสาหกรรม

 
...การบริหารและการดำเนินงาน...
     ปัจจุบัน กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด บริหารงานภายใต้ คณะกรรมการอำนวยการเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด (บอร์ด) ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานจากภายนอก ร่วมเป็นคณะกรรมการดำเนินการ อาทิ ผู้แทนจากกรมบัญชีกลาง ผู้แทนจากสำนักงบประมาณผู้แทนจากกระทรวงพาณิชย์ และ ผู้อำนวยการกองต่างๆในสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาที่เกี่ยวข้อง จำนวน 13 คน โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยาเป็นที่ปรึกษา และ รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ที่ได้รับมอบอำนาจ เป็นประธานคณะกรรมการ การดำเนิน การบริหารพัฒนาองค์กร เป็นไปตามแผนพัฒนาเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ปีงบประมาณ 2553 - 2555 โดยมีการพัฒนาโครงสร้างการบริหารงาน อัตรากำลัง และ โครงสร้างกรอบงาน แบ่งเป็น 6 ฝ่าย 9 กลุ่มงาน ภายใต้การกำกับดูแลของผู้อำนวยการกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด รับผิดชอบด้านการบริหารและดำเนินงานมีหน้าที่ 
     1. วางแผนการใช้จ่ายเงิน และจัดทำประมาณการรายจ่ายประจำปี เสนอขออนุมัติจากกระทรวงการคลัง 
     2. ควบคุมการใช้จ่ายเงินให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ 
     3. ควบคุมการซื้อ / ขาย รวมถึงการตรวจรับ / ส่งมอบยาเสพติดและวัตถุออกฤทธิ์ต่างๆ ตลอดจนดำเนินงานอื่นๆให้เป็นไปตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง 

     ปัจจุบันได้มีการนำเอาระบบการวิเคราะห์องค์กรแบบ SWOT Analysis มาใช้เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดทิศทาง เพื่อหาจุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และอุปสรรคต่างๆขององค์กร มีการนำเกณฑ์ K.P.I มาเป็นตัวชี้วัดและประเมินผลการดำเนินงานของแต่ละกิจกรรม ตามที่ ก.พ.ร. กำหนด เพื่อจะเป็นหน่วยงานที่ได้มาตรฐาน นอกจากนี้แล้วกลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด เป็นหนึ่งในกลุ่มเงินทุนที่ถูกประเมิน โดยบริษัท ทริส คอร์ปอเรชั่น จำกัด ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 จนถึงปัจจุบัน กำลังพัฒนาเข้าสู่ระบบการบริหารการเงินการคลังภาครัฐสู่ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (GFMIS) ตามนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มรูปแบบ รวมทั้งกำลังพัฒนาระบบการสั่งซื้อผ่านช่องทางการให้บริการทาง Internet อีกด้วย 

 
...คณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด...
   
1. เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ประธานกรรมการ
2. รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา ที่ได้รับมอบหมายกรรมการ
3. ผู้แทนกระทรวงการคลังกรรมการ
4  ผู้แทนสำนักงบประมาณกรรมการ
5. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านกฎหมายกรรมการ
6. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านบริหารจัดการและบริหารธุรกิจกรรมการ
7. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรรมการ
8. ผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติดกรรมการและเลขานุการ
​9. เภสัชกร กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการกองควบคุมวัตถุเสพติด
​ผู้ช่วยเลขานุการ
​10. นักวิเคราะห์นโยบายและแผนงาน กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด ที่ได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการ กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติดผู้ช่วยเลขานุการ

โดยมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

1. กำหนดนโยบาย กำกับดูแลการบริหารจัดการ และติดตามการดำเนินงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของทุนหมุนเวียน
2. กำหนดข้อบังคับว่าด้วยการบริหารงานบุคคล การเงิน การพัสดุ ตลอดจนการกำหนดค่าตอบแทนสิทธิประโยชน์หรือสวัสดิการต่าง ๆ ของผู้บริหารทุนหมุนเวียน พนักงาน และลูกจ้างให้สอดคล้องกับมาตรฐานที่คณะกรรมการกำหนดตามมาตรา ๑๑ (๘)
3. พิจารณาอนุมัติแผนการดำเนินงานประจำปี
4. แต่งตั้งผู้บริหารทุนหมุนเวียน
5. แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อปฏิบัติการตามที่คณะกรรมการบริหารมอบหมาย

*เอกสาร คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 572 / 2562 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด Download
* เอกสาร คำสั่งสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ที่ 203 / 2564 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด (ฉบับที่ 2) Download
กลุ่มเงินทุนหมุนเวียนยาเสพติด

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข
88/24 ถนนติวานนท์ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
โทรศัพท์ ฝ่ายขาย (สอบถามคำขอซื้อ) : 0 2590 7731-2, 0 2590 7736, 0 590 7739, 0 2590 7781
ฝ่ายรายงาน (สอบถามเรื่องรายงาน) : 0 2590 7738,โทรสาร : 0 2590 7734
ฝ่ายจัดซื้อ : 0 2590 7733, 0 2590 7735, 0 2590 7780
ยาเสพติด/วัตถุออกฤทธิ์ ประเภท ๒ กรุงเทพฯ/ปริมณฑล : 0 2590 7739
ยาเสพติดประเภท ๒ ต่างจังหวัด : 0 2590 7783
วัตถุออกฤทธิ์ประเภท ๒ ต่างจังหวัด : 0 2590 7784